โรคกล้ามเนื้อตึงตัว

อาการปวดศีรษะไมเกรนควรได้รับการวินิจฉัยแยกจากโรคปวดศีรษะที่มีสาเหตุร้ายแรง เช่น ภาวะสมองขาดเลือดหรือเลือดออก ออกไปก่อน แล้วจึงวางแผนการรักษา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของอาการปวด

สัญญาณอันตรายจากอาการปวดศีรษะ เช่น อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นทันทีทันใด หรืออาการปวดที่เลวร้ายที่สุดในชีวิต อาการปวดหัวไมเกรนที่เป็นมากขึ้น หรือมีลักษณะอาการปวดที่แตกต่างจากเดิมที่เคยเป็น ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที
การวางแผนการรักษาออฟฟิศซินโดรม เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพสูงสุด จะช่วยลดระยะเวลาในการรักษา และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

โรคกล้ามเนื้อตึงตัว

อาการปวดที่เกิดจากโรคทางระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดหลัง หากทิ้งไว้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเกิดความทุพพลภาพภายหลังได้ อีกทั้งคนที่มีอาการปวดส่วนมากคิดว่าความเจ็บปวดบางอย่างไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งอาจจะเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรทำสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคือ

การได้รับการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวด ซึ่งบางครั้งอาจจะมีหลายปัจจัยส่งผลต่อเนื่องกัน เมื่อรู้สาเหตุของอาการแล้ว แพทย์ก็จะให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันได้มีวิทยาการใหม่ซึ่งสามารถรักษาอาการปวดจากสาเหตุได้อย่างตรงจุด รวมถึงการรักษาเพื่อควบคุมอาการปวด โดยใช้การรักษาแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เห็นผลเร็ว และหายขาดได้อีกด้วย

โรคปวดศีรษะชนิดไมเกรน

สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากการที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในเยื่อหุ้มสมองหลั่งออกมาผิดปกติ ส่งผลต่อหลอดเลือดที่อยู่บริเวณผิวสมองเกิดการอักเสบ หลอดเลือดแดงบริเวณผิวสมองหดตัว ทำให้เกิดอาการอื่นที่พบร่วมกับอาการปวดศีรษะ เช่น เห็นภาพเบลอ เห็นแสง วิงเวียน คลื่นไส้ ชา อ่อนแรง ซึ่งเรียกกลุ่มอาการดังกล่าวนี้ว่า Aura และสารสื่อประสาทที่มีผลทำให้หลอดเลือดแดงในชั้นเยื่อหุ้มสมองคลายตัวส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะตุ๊บๆ อย่างรุนแรง โดยตัวกระตุ้น จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ได้แก่

ตัวกระตุ้นจากผู้ป่วยเอง (Intrinsic precipitating factors)

พันธุกรรม มีรายงานพบความสัมพันธ์มากถึง 50%
เพศหญิงมีการปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า
การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยช่วงก่อน/ระหว่าง/หลังมีประจำเดือนในวัยเจริญพันธุ์จะกระตุ้นให้ปวดศีรษะไมเกรนได้มากกว่า
การอดนอน
ความเครียด
ตัวกระตุ้นจากภายนอก (Extrinsic precipitating factors)

สภาวะแวดล้อม – อากาศร้อน/เย็นจัด ความกดอากาศสูง แสงแดด เสียงดัง กลิ่นเหม็น
อาหารบางชนิด เช่น ช็อกโกแลต ชีส ผงชูรส ชา กาแฟ ไวน์
การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือการบำบัดแทนฮอร์โมน อาจทำให้อาการไมเกรนแย่ลง
อาการของการปวดศีรษะไมเกรน

ปวดศีรษะด้านเดียว/สองข้าง/หรือสลับด้านไปมา
ลักษณะอาการปวดแบบตุ๊บๆ ปวดรุนแรง
อาการปวดกินเวลานาน 4-72 ชั่วโมง
มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ คือ คลื่นไส้ อาเจียน
มีอาการร่วมกับการปวดศีรษะชนิด Aura ซึ่งอาจนำมาก่อน เกิดร่วมกัน หรือหลังอาการปวดศีรษะได้ อาการที่พบได้แก่ ตาพร่า/เห็นแสงคล้ายแฟลช/จุดดำในตา อาการชาโดยเฉพาะรอบปากและมือ อาการอ่อนแรง อาการวิงเวียน
อาการมักสัมพันธ์กับตัวกระตุ้นชัดเจน
โดยอาการดังกล่าว ควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรคปวดศีรษะที่มีสาเหตุร้ายแรงออกไปก่อน เช่น ภาวะสมองขาดเลือดหรือเลือดออก เป็นต้น เมื่อวินิจฉัยแยกสาเหตุที่ร้ายแรงออกไปแล้ว การวางแผนการรักษาขึ้นอยู่กับความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดที่ผู้ป่วยได้รับผลกระทบในการรักษา

การรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน
โดยการรักษาแบ่งเป็นสองขั้นตอนหลักๆ คือ

การรักษาอาการปวดเฉียบพลัน ด้วยยาแก้ปวดชนิดรับประทานและชนิดฉีด
การป้องกันอาการปวดศีรษะ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบ่อย มีอาการปวดแต่ละครั้งรุนแรง อาการปวดกินเวลายาวนานหรือมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ตามัว เวียนศีรษะ ชา อ่อนแรง โดยรักษาด้วยยาป้องกันอาการปวดซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน และยาฉีด
อีกทั้งควรสังเกตปัจจัยกระตุ้นการปวดศีรษะและหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะ และการรักษาสาเหตุอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วยเช่น โรคกล้ามเนื้อตึงตัว และออฟฟิศซินโดรม

ซินโดรม ปวดตึงกล้ามเนื้อคอ/บ่า/ไหล่/หลัง
สาเหตุของการเกิดอาการปวดกลุ่มกล้ามเนื้อตึงตัว เกิดจากการใช้งานกลุ่มกล้ามเนื้อนั้นซ้ำๆ นานๆ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งค้างและอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กาารหลั่งสารสื่อประสาทที่กระตุ้นความปวด (Nitric oxide synthase) ไปกระตุ้นตัวรับความเจ็บปวดที่อยู่รอบๆ กล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวด หลังได้รับตัวกระตุ้น (Precipitating factors) และหากตัวกระตุ้นเหล่านี้คงอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อตัวรับความเจ็บปวดในระบบประสาทส่วนกลาง (Central pain receptor) แปลผลรับรู้ความเจ็บปวดนั้นต่อเนื่อง เกิดเป็นอาการปวดเรื้อรังได้ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ได้แก่

ภาวะร่างกายพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ แร่ธาตุบางตัว เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบี วิตามินซี วิตามินดี
ภาวะกล้ามเนื้อมีความทนทานต่ำ
ความเครียด ภาวะอดนอน
อาการของการปวดจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือ ออฟฟิศซินโดรม
ผู้ป่วยมักมีอาการปวด เกร็ง ตึงตัวในกล้ามเนื้อกลุ่มที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น กล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ขมับ หลัง เอว ขา ในผู้ป่วยบางรายอาจคลำได้ก้อนของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการหดเกร็งค้างของกล้ามเนื้อ เรียกว่า Trigger point
ลักษณะการปวดตื้อๆ หน่วงๆ สัมพันธ์กับการใช้งานกล้ามเนื้อนั้นๆ
ระยะเวลาปวดขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละรายมักไม่ค่อยพบอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง ชา ถ้าพบอาการร่วม ควรสงสัยโรคปวดศีรษะที่มีสาเหตุร้ายแรง
การรักษาการปวดจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือ ออฟฟิศซินโดรม

ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการประเมิน เพื่อให้การวินิจฉัยโรค สาเหตุที่เกิดร่วม
การตรวจเพิ่มเติมในบางรายเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค
วางแผนการรักษากับแพทย์ที่ดูแล เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพสูงสุด และยังช่วยลดระยะเวลาในการรักษา อีกทั้งยังเพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายจากการรับการรักษาแต่ละชนิดอีกด้วย

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ developette.com